วันพุธที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2560

ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร(ศพก.)อำเภอเวียงเชียงรุ้งของนายเชิดชัย แสงสุข

 นายเชิดชัย แสงสุข นอกจากจะได้รับการเลือกสรรเป็นกำนันตำบลทุ่งก่อแทน กำนันคนก่อนที่เกษียนอายุแล้ว ที่บ้านยังเป็นศูนย์เรียนรู้ของทุกๆหน่วยราชการ ด้วยความพร้อมทั้งสถานที่ ความรู้ ประสบการณ์และการประสานงานที่ดีเยี่ยม อีกทั้งกรรมการหมู่บ้าน สมาชิกลูกบ้านก้อมีความสามัคคีน้ำหนึ่งใจเดียวกัน  กิจกรรมบ้าน วัด โรงเรียน ไปด้วยกันอย่างลงตัว จึงไม่แปลกที่หลายส่วนราชการให้ความไว้วางใจให้เป็นศูนย์เรียนรู้ดูงาน ที่อบรม










วันศุกร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2560

ติดตั้งป้ายฟารมสาธิตการเลี้ยงไก่ไข่ ในโครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร

นายสุพล ปานพาน ปศุสัตวอำเภอเวียงเชียงรุ้ง เข้าเยี่ยมศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ของนายเชิดชัย แสงสุข เมื่อ่ายวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๖๐ ติดตามการปรับปรุงสถานที่เลี้ยงให้ได้มาตรฐานการป้องกันโรคทางชีวภาพได้ เพื่อเป็นตัวออย่างแก่ผู้ที่เข้ามอบรม ศึกษาเรียนรู้ ดูงาน ต่อไป และได้มอบป้ายฟาร์มสาธิตที่ สำนักงานปศุสัตว์จัดทำให้ ติดไว้หน้าบ้านเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์แหล่งเรียนรู้ด้านการเลี้ยงไก่ไข่
กำลังปรับแต่งพื้นที่

แนะนำให้นำหญ้าอาหารสัตวมาปลูก บริเวณคอกเป็นการตกแต่งไปด้วย


ไก่ไข่แข็งแรงดี และเริ่มมีไข่แล้ว คงต้องเอาป้ายผลผลิตรายรับ รายจ่ายมาติดแสดงไว้ด้วย นโอกาสตต่อไปครับ


วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ในภาพอาจจะมี 1 คน, กำลังนั่ง และ สถานที่ในร่ม
ที่บ้านพ่อกำนันเชิดชัย แสงสุข ที่ สนง.เกษตรอำเภอเลือกเป็น ศูนย์.ศพก. ปศุสัตว์ต้องเข้าร่วมสนับสนุนด้วย
เมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ นายสุพล ปานพาน ปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้ง และนางพรพิมล ใจไหว นักวิชาการสัตวบาลชำนาญการ  สำนักงานปศุสัตตว์จังหวัดเชียงราย เยี่ยมติดตามงานส่งเสริมการเลี้ยงไก่ไข่ กิจกรรมปศุสัตว์อินทรีย์ ที่บ้านสันไทรงามตำบลดงมหาวัน  , การจัดการแปลงใหญ่ไก่พื้นเมืองกลุ่มเเลี้ยงไก่บ้านดงชัย และติดตามการจัดชื้อปัจจัยการผลิตของศูนย์ ศพก.ที่ตั้งที่บ้านพ่อกำนันเชิดชัย แสงสุข ที่อยู้บบ้านดงชัย ตำบลทุ่งก่อ ด้วย

ในภาพอาจจะมี 3 คน, ผู้คนกำลังนั่ง, ตาราง และ สถานที่ในร่ม
และเชิญนายจริน ทาแกง ี่สมัครเป็นผผ้จัดการตู้ฟักไก่มาทำความเข้าใจการจัดการแปลงใหญ่ไก่พื้นเมือง

วันอาทิตย์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2557

ประเพณีดำหัวปีใหม่เมือง


การดำหัว ในความหมายทั่วไปของชาวล้านนาไทยนั้นหมายถึงการ "สระผม" แต่ในพิธีกรรม โดยเฉพาะในเทศกาลสงกรานต์ของทุก ๆ ปี หมายถึง การชำระสะสางสิ่งอันเป็นอัปมงคลในชีวิตให้วิปลาสปราดไป ด้วยการใช้น้ำส้มป่อยเป็นเครื่องชำระ  
พิธีกรรมในการดำหัวในเทศกาลสงกรานต์ล้านนา มี 3 กรณี คือ
กรณีแรก ดำหัวตนเอง คือทำพิธีเสกน้ำส้มป่อยด้วยคำที่เป็นศิริมงคล เช่น "สัพพทุกขา สัพพภยา สัพพโรคาวินาสันตุ" แล้วใช้น้ำส้มป่อยลูบศีรษะ
กรณีที่สอง ดำหัวผู้น้อย เช่น ภรรยา บุตร หลาน อันเป็น พิธีกรรมต่อเนื่องจากกรณีแรก คือ ใช้น้ำส้มป่อยลูกศีรษะภรรยา บุตร หลาน หลังจากดำหัวตนเอง หรือการที่ตนเองรับน้ำส้มป่อย (ในกรณีที่สาม) มาลูบศีรษะตนเองเสร็จแล้วสลัดใส่ศีรษะ หรือลูบศีรษะผู้ที่มาดำหัวตนเอง
กรณีที่สาม ดำหัวผู้ใหญ่ เช่น บิดา มารดา ครู อาจารย์ พระเถระ ผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นต้น กรณีนี้อาจไปดำหัวด้วยตนเอง บางครั้งอาจพาญาติพี่น้องไปเป็นกลุ่ม หรือไปเป็นคณะโดยเฉพาะผู้ใหญ่ที่เป็นที่เคารพนับถือของชุมชน
การดำหัวในกรณีที่สามนี้ ถือเป็นประเพณีที่สำคัญยิ่ง ถือได้ว่าเป็นประเพณีที่สามารถจรรโลงความสันติสุขให้กับสังคม ได้เป็นอย่างดี การดำหัวผู้ใหญ่ด้วยตนเองอาจจะไม่มีพิธีรีตองมากนัก แต่การดำหัวผู้ใหญ่ที่ต้องไปเป็นหมู่คณะ ย่อมมีกิจกรรมที่ซับซ้อนมากขึ้น ดังจะกล่าวต่อไป
การดำหัวผู้ใหญ่ที่ไปเป็นหมู่คณะ
เมื่อทุกคนไปรวมกลุ่มกันตามที่นัดหมายแล้วจึงเคลื่อนขบวนมีการแห่ แหนด้วยฆ้อง กลอง เป็นที่ครึกครื้นบางแห่งมีการแสดงร่วมขบวนด้วย เช่น การฟ้อนเชิง ฟ้อนดาบ ตีกลองสะบัดชัย ดนตรีประเภท สะล้อ ซึง ฯลฯ ระหว่างทางมีการรดน้ำกันอย่างสนุกสนาน เครื่องที่นำไปดำหัวที่ถือได้ก็ช่วยกันถือไป เช่น สลุงน้ำส้มป่อย ต้นดอก ต้นเทียน พานข้าวตอกดอกไม้ เครื่องที่หนักก็จะใส่แคร่ที่ภาษาล้านนาเรียก "จองอ้อย" หามกันไป
เครื่องดำหัว
สิ่งของต่าง ๆ ที่เอาไปดำหัวนอกจากจะมีน้ำส้มป่อยพานข้าวตอกดอกไม้แล้วยังเครื่องอุปโภค บริโภคไปเป็นเครื่องสักการะ เครื่องอุปโภคที่นิยมกันส่วนใหญ่จะเป็นผ้า เช่น ผ้าขะม้า เสื้อ ผ้าถุง ผ้าเช็ดหน้า เป็นต้น ส่วนเครื่องบริโภคมักจะเป็นพืชผลทางการเกษตร เช่น ฟัก แฟง แตงโม กระเทียน หัวหอม มะเขือ สิ่งของประเภทผลไม้ตามฤดูกาล เช่น มะปราง มะม่วง มะพร้าว เป็นต้น เครื่องดำหัวต่าง ๆ ดังกล่าวนิยมใส่รวมกันใน "ชองอ้อย" (อ่าน-จองอ้อย)
เครื่องดำหัวบางประเภทอาจมีประโยชน์ใช้สอยน้อย หรือบางประเภทอาจไม่ได้ใช้เลย เพราะหมดสมัยแต่ก็ยังนิยมนำไปดำหัวกันอยู่เพราะถือเป็นเครื่องสักการะที่มี มาแต่โบราณ เช่น
            - ต้นดอก คือพุ่มดอกไม้ที่ประกอบด้วยดอกไม้นานาชนิด
            - ต้นเทียน คือพุ่มเทียน
            - ต้นผึ้ง คือพุ่มขี้ผึ้ง
            - หมากสุ่ม คือพุ่มหมากแห้งที่ประดับด้วยหมากแห้งผ่าซึก
            - หมากเบ็ง คือพุ่มหมากดิบที่ประดับด้วยหมากดิบเป็นลูก ๆ
พิธีกรรมในการดำหัว
เมื่อแห่เครื่องสักการะไปถึงแล้วทุกคน นั่งลงแสดงอาการนอบน้อมโดยสงบและเริ่มพิธีกรรมตาม ขั้นตอน ดังนี้
- ให้มีผู้ถือพานข้าวตอกดอกไม้ สลุงน้ำส้มป่อยและเครื่องสักการะอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ผ้า อย่างละ 1 คน แล้วนั่งคุกเข่าเฉพาะหน้าผู้ใหญ่ที่จะดำหัวท่าน
- หัวหน้าในกลุ่มประณมมือกล่าว คำขอขมา และคำขอพร (ตัวอย่างคำขอขมาและคำขอพร "ในโอกาสที่ปี๋เก๋าได้ล่วงพ้นไปแล้ว ปี๋ใหม่แก้ก็มารอดมาเถิง ผู้ข้าตังหลายก็มาร่ำเปิงเถิงยังอดีตป๋าเวณีอันดีงามมาแต่ก่อน บ่ห่อนละเสียยังศรัทธา จึ่งพากั๋นน้อมนำมายัง ข้าวตอกดอกไม้ไทยวัตถุบริวารทานและน้ำส้มป่อย เพื่อจักมาขอสุมา คารวะหากได้ล่วงล้ำด้วยก๋าย วาจ๋า ใจ๋ ด้วยเจตนาหรือ บ่เจตนาก็ดี ขอท่านจุ่งมีเมตต๋าลดโทษ และขอท่านจุ่งโปรด ปั๋นศีลพรชัยหื้อเป๋นมังคละ แก่ผู้ข้าตังหลายแต่เต๊อะ")
- ประเคนทานข้าตอกดอกไม้ สลุงน้ำส้มป่อยและเครื่องสักการะ
- ผู้ใหญ่รับแล้วใช้มือจุ่มน้ำส้มป่อยลูบศีรษะอาจมีการสลัดน้ำส้มป่อยใส่ผู้ที่มาดำหัวด้วยความเมตตา
- ผู้ใหญ่ให้โอวาทและกล่าวขอบคุณ
- รับพรจบแล้วกล่าวคำว่า "สาธุ" พร้อมกัน
- ตามอัธยาศัย

วันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ประวัติของหมู่บ้าน บ้านดงชัย ตำบลทุ่งก่อ อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย

  จากคำเล่าของผู้เฒ่าในหมู่บ้านมีประวัติว่า ชุมชนแห่งแรกที่ได้มาตั้งถิ่นฐานอยู่อำเภอเวียงเชียงรุ้ง คือ หมู่บ้านดงชัย หมู่ที่ 2 ตำบลทุ่งก่อในปัจจุบัน สมัยก่อนนั้นเรียกว่าดงหนองเขียว ประมาณเมื่อ 300 ปี ที่ผ่านมามีครอบครัวจากจังหวัดเชียงใหม่อพยพมาอยู่ 
     ต่อจากนั้นก็มีคนอพยพมาจากถิ่นอื่น เช่น เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน ภาคอีสาน มาตั้งหมู่บ้านอีกมากมายสมัยก่อนโน้นการคมนาคมไม่สะดวก ในช่วงฤดูฝนการเดินทางไปจังหวัดเชียงรายถ้าไม่เดินไป ก็ต้องไปทางเรือตามลำน้ำกกตำบลทุ่งก่อเดิมขึ้นอยู่กับอำเภอเมืองเชียงราย 
     ต่อมาในปี พ.ศ.2516 ได้แยกมาสังกัดกิ่งอำเภอเวียงชัย จากเดิมมีพียงตำบลทุ่งก่อเพียงตำบลเดียว จากการขยายของประชากรและความเจริญของบ้านเมือง ก็มีการแยกตำบลอีกคือ ตำบลป่าซาง ในปี พ.ศ. 2522 และตำบลดงมหาวัน ในปี พ.ศ. 2525 
      ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2538 กระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศจัดตั้งกิ่งอำเภอเวียงเชียงรุ้ง ซึ่งประกอบไปด้วย 3 ตำบล มีตำบลทุ่งก่อ ตำบลป่าซาง และตำบลดงมหาวัน 
       อำเภอเวียงเชียงรุ้งมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน มีหลักฐานปรากฏอยู่ เช่น ฐานพระพุทธรูปหินทรายซึ่งแตกเป็น 2 ชิ้น พบที่วัดร้างแห่งหนึ่งในเวียงเชียงรุ้ง ที่ฐานพระพุทธรูปมีอักษรจารึกไว้ ซึ่งตัวจารึกที่ปรากฏนั้นเลือนลาง แต่อ่านได้เป็นบางส่วนดังนี้ พระ....(ศักราช......(ได้ 872....ออก 8 ค่ำ....ผู้อ่านจารึกคือศาสตราจารย์ด๊อกเตอร์ ฮันน์ เพนน์ สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตัวจารึกที่อ่านได้ 872 นั้นจะตรงกับปี พ.ศ.2053 ตามที่จารึกที่ฐานพระพุทธรูปหินทราย ณ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอำเภอเชียงแสน นอกจากนี้ที่วัดเชียงรุ้งยังค้นพบพระพุทธรูปหินทราย เครื่องมือเครื่องใช้ของคนโบราณ กองอิฐโบราณ และยังมีภาพถ่ายทางอากาศที่แสดงให้เห็นร่องรอยของการเป็นชุมชนเมืองโบราณ ดังนั้น จึงสันนิษฐานได้ว่าชุมชนนี้มีผู้คนอาศัยอยู่มาไม่ต่ำกว่า 500 ปี